Selected your language: Thai United Stated
ความสำคัญของกฎหมายควบคุมอาคาร
Updated: 2012-12-12 01:23:42

ความสำคัญของกฎหมายควบคุมอาคาร

1. บทนำ
1.1 ความสำคัญของกฎหมายควบคุมอาคาร

เนื่องจากอาคารเป็นปัจจัยพื้นฐานของคน ดังนั้น เมื่อประชากรของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจึงมีการก่อสร้าง “อาคาร “ เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งหากไม่มีกฎเกณฑ์ระเบียบของสังคมในการควบคุม “อาคาร” แล้วความไม่สวยงาม ความไร้ระเบียบ และปัญหาชุมชน ฯลฯ ก็จะเกิดขึ้นและกฎเกณฑ์นั้นก็คือ “กฎหมายควบคุมอาคาร” นั่นเอง

กฎหมายควบคุมอาคาร มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมในเรื่อง ดังต่อไปนี้
1.    การสถาปัตยกรรม ความสวยงาม ความเป็นระเบียบร้อยของบ้านเมือง
2.    ความมั่งคงแข็งแรงของอาคาร
3.    ความปลอดภัยของผู้อาศัยหรือผู้ที่เข้าไปใช้อาคาร
4.    การป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร
5.    การสาธารณสุข และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายเทอากาศภายในอาคาร การกำหนดให้น้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากอาคารต้องผ่านระบบบำบัดให้เป็นน้ำสะอาด ก่อนระบายลงสูงทางระบายน้ำสาธารณะ เป็นต้น
6.    การอำนวยความสะดวกแก่การจราจร เช่น การกำหนดให้อาคารบางชนิดต้องจัดให้มีที่จดรถยนต์ เพื่อไม่ให้รถยนต์ต้องจอดริมถนนซึ่งอาจทำให้กีดขวางการจราจร เป็นต้น

1.2 โครงสร้างของกฎหมายควบคุมอาคาร
กฎหมายควบคุมอาคารเป็นชื่อที่เรียกโดยทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วย
(1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
(2) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522)
(3) กฎกระทรวง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกโดยอาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติควบคุมอาคารซึ่งกฎหมายที่กล่าวมานี้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติถือเป็นตัวแม่บทหลักที่กำหนดขอบเขตอำนาจของกฎหมายควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกอบด้วยหมวดต่าง ๆ คือ
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 คณะกรรมการควบคุมอาคาร
หมวด 3 การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนแปลง การใช้อาคาร
หมวด 4 อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมวด 5 การอุทธรณ์
หมวด 6 นายช่าง และนายตรวจ
หมวด 7 เขตเพลิงไหม้
หมวด 8 บทเบ็ดเตล็ด
หมวด 9 บทกำหนดโทษและ บทเฉพาะกาล

กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การกำหนด เรื่องรูปทรงอาคาร วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร แนวอาคาร วิธีปฏิบัติในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เป็นต้น ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำนวน 51 ฉบับ และกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ จำวน 3 ฉบับ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น

เป็นกฎหมายซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของราชการส่วนท้องถิ่นภายในขอบเขตที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ให้อำนาจไว้ เช่น ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบัญญัติ (ของเทศบาล) ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกฎกระทรวงคือกำหนดเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นสามารถออกข้อบังคับบัญญัติท้องถิ่นได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตร 9 มาตร 10 และมาตรา 11 ดังนี้
มาตรา 9 ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา 8 แล้วให้ราชการส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 10
ในกรณีที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา 8 ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นได้
ในกรณีที่ได้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องใดตามวรรคสองแล้ว ถ้าต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องนั้น ให้ข้อกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงเป็นอันยกเลิก และให้ขอกำหนดของข้อบัญญัติท้องถิ่นในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงยังคงใช้บังคับต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่ตามมาตรา 10 แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ
การยกเลิกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามวรรคสามย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้ว โดยถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
มาตรา 10 ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดเรื่องใดตามมาตรา 8 แล้วให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องนั้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดรายละเอียดในเรื่องนั้นเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายดังกล่าว
(2) เป็นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดเรื่องนั้นขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว เนื่องจากมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตาม (2) ให้มีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคารและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
คณะกรรมการควบคุมอาคารจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นทราบ ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้ราชการส่วนท้องถิ่นตาม (2) ให้มีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคารและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
คณะกรรมการการควบคุมอาคารจะต้องพิจารณาให้ความเห็นขอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นทราบ ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้ราชการท้องถิ่นตาม (2) ให้เสร็จภายใจหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น ถ้าไม่ให้ความเห็นชอบให้แจ้งเหตุผลให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั่นทราบด้วย

ถ้าคณะกรรมการควบคุมอาคารพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ถือว่าคณะกรรมการควบคุมอาคารได้ให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นแล้ว และให้ราชการส่วนท้องถิ่นเสนอรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป ถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น ให้ถือว่ารัฐมนตรีได้อนุมัติตามวรรคสอง

มาตรา 11 ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือ มาตรา 10 เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้”
พระราชกฤษฎีกา
เป็นการประกาศบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารในท้องที่ใดซึ่งต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องถิ่นทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องที่นั้นทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ดังนี้

“มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะใช้บังคับในท้องที่ใด มีบริเวณเพียงใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”
2. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
2.1 เขตควบคุมอาคาร
ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2522 แล้วก็ตามแต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับใช้ทั่วประเทศ เนื่องจากกฎหมายควบคุมอาคารมีวัตถุประสงค์ในเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมั่งคงแข็งแรง แต่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญยังไม่มีการก่อสร้างก่อสร้างอาคารมากเท่าใดนักหรืออาจไม่มีอาคารเลย บริเวณเหล่านี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมการก่อสร้างอาคาร ดังนั้น กฎหมายควบคุมอาคารจึงได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ใดหรือบริเวณใดที่สมควรให้มีการควบคุมการก่อสร้างอาคารก็ให้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร หรือเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า “การกำหนดเขตควบคุมอาคาร” ซึ่งเมื่อได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดพื้นที่โดยบริเวณใดให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การก่อสร้างการดัดแปลง การรื้อถอน การเคลื่อนย้าย การใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสียก่อน จึงจะสามารถทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารได้ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อได้พิจารณาแบบแปลน ฯลฯ แล้วเห็นว่าถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ทุกประการ
ในกรณีที่ อบต. ซึ่งยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาฯ และมีความประสงค์ที่จะตราพระราชกฤษฎีกาฯ ในเขต อบต. นั้นสามารถดำเนินการตามขั้นตอน กล่าวคือสำรวจและจัดทำข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ แล้วกรอกลงในแบบฟอร์มข้อมูลรายละเอียดประกอบการพิจารณาประกาศพระราชกฤษฎีกา ฯ (ตามภาคผนวก ก. ) พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แล้วส่งข้อมูลให้จังหวัดพิจารณา เมื่อจังหวัดพิจารณาแล้วจึงส่งให้กรมโยธาธิการ ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป


2.2 เจ้าพนักงานท้องถิ่น
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือ
1.    นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
2.    ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล
3.    ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนส่วนจังหวัด
4.    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
5.    ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
6.    หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้ สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น

สำหรับในเขตองค์การบิหารส่วนตำบลนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นคือ ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
2.3 อำนาจ หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อำนาจ หน้าที่สำคัญของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้แก่
1. เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
2. เป็นผู้ดูแลให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารปฏิบัติตามกฎหมายหากพบว่ามีการฝ่าฝืน เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องเข้าไปดำเนินการตามมาตรา 41 ถึงมาตรา 45 แหงพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กล่าวโดยสรุปคือ
ถ้ามีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารนั้นยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องดำเนินการ ดังนี้
o    สั่งให้เจ้าของอาคารระงับการก่อสร้าง
o    ให้เจ้าของอาคารมายื่นขออนุญาตให้ถูกต้อง เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้
- ตรวจสอบว่าอาคารในส่วนที่ได้ก่อสร้างไปแล้ว ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าส่วนใดไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องก็ต้องสั่งให้รื้อถอนในส่วนนั้น

ถ้าอาคารนั้นยังไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อนสร้างแต่ได้ทำการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณาว่าอาคารหลังนั้นก่อสร้างถูกต้องตามข้อบังคับของกฎหมายหรือไม่ ถ้าถูกต้องก็สั่งให้เจ้าของอาคารยื่นขออนุญาตให้ถูกต้องตามขั้นตอน แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็สั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการรื้อถอนได้และถ้าหากเจ้าของอาคารนั้นไม่รื้อถอนตามคำสั่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังบุคคลซึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเข้าไปรื้อถอนอาคารดังกล่าวได้เอง โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น เจ้าของอาคาร วิศวกร - สถาปนิก ผู้ออกแบบอาคารหรือควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ผู้รับเหมาเป็นต้น จะต้องเป็นผู้ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายการรื้อถอน
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎมายเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินคดีลงโทษตามบทกำหนดโทษควบคู่กันไปด้วย

3. หากมีอาคารเก่าอยู่ในสภาพทรุดโทรม หรือไม่ปลอดภัยในการใช้งาน เช่น อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย เจ้าพนักท้องถิ่นต้องเข้าไปตรวจสอบและสามารถสั่งให้อาคารนั้นแก้ไขให้มีความปลอดภัยได้ภายใต้ขอบเขตข้อกำหนดที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันคือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540 ) ฯ )
สำหรับคำสั่งต่าง ๆ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องใช้แบบฟอร์มคำสั่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528 ) ฯ ให้ถูกต้องตามแต่ละกรณี
4 จัดให้มีเอกสารเผยแพร่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาต และการอนุญาตดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ตลอดจนข้อมูลกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ดัดแปลง ฯลฯ อาคารให้ราษฎรในท้องถิ่นทราบ
5. แจ้งคำเตือนไว้ในใบอนุญาตว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตยังต้องขออนุญาตเกี่ยวกับอาคารนั้นตามกฎหมายอื่นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น การขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน ผู้ขออนุญาตจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร และจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย เป็นต้น

2.4 นายช่างและนายตรวจ
ตามกฎหมายควบคุมอาคาร นอกจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังกำหนดให้มีนายช่างและนายตรวจให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยกำหนดให้นายช่างและนายตรวจเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งขึ้นมา และต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนดในกฎหระทรวง (พ.ศ. 2524) ฯ กล่าวโดยสรุป ดังนี้
* นายช่าง อย่างน้อยต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างก่อสร้าง หรือแผนกวิชาช่างสำรวจหรือแผนกวิชาช่างโยธา หรือแผนกวิชาช่างเขียนแบบโยธา
- ได้รับประกาศนียบัตรตามที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างโยธา
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาช่างตรี ตามหลักสูตรของทางราชการ ซึ่ง ก.พ. ได้รับรองแล้ว หรือได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขา 1 วิศวกรรมโยธาตามกฎหมายวิชาชีพวิศวกรรม
- เป็นนายตรวจตั้งแต่ ระดับ 3 ขึ้นไป
* นายตรวจ อย่างน้อยต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาก่อสร้าง หรือแผนกวิชาช่างสำรวจ หรือแผนกวิชาช่างโยธา หรือ แผนกวิชาช่างเขียนแบบโยธา
- ได้รับประกาศนียบัตรตามที่ กพ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนายช่างโยธา 1 หรือเทียบเท่า
2.5 หน้าที่ของนายช่างและนายตรวจ
มาตรา 53 ถึง มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติหน้าที่ของนายช่างและนายตรวจไว้กล่าวคือ
1. นายช่างและนายตรวจ สามารถเข้าไปในบริเวณที่กำลังมีการก่อสร้างหรือดัดแปลง ฯลฯ อาคารได้ เพื่อตรวจสอบว่าอาคารหลังนั้นได้มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่
2. ถ้าอาคารนั้นได้ก่อสร้าง หรือดัดแปลง ฯลฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และสงสัยว่าอาคารนั้นอาจจะก่อสร้าง หรือดัดแปลง ฯลฯ ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร เช่น ก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต หรือมีการใช้อาคารไม่ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต เป็นหน้าที่ของนายช่างที่ต้องเข้าไปตรวจสอบอาคารนั้น

2.6 ความหมายของคำว่า “อาคาร”
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้นิยาม คำว่า “อาคาร” ไว้ดังนี้
“อาคาร” หมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลสามารถเข้าไปใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง
1. อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
2. เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อหรือทางระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้วกำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะหรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
3. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
(ก) ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตรหรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินหนึ่งตารางเมตรหรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม
(ข) ที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดินและมีขนาดหรือมีหน้าหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2533) ฯ
4. พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8 (9) (เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 8 (9) จึงยังคงใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2549
5. สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ยังไม่มีการออกกฎกระทรวง)

2.7 การอุทธรณ์
ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไข้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิ และผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ โดยทำเป็นหนังสือและยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าว ภายใน 30 วันนับแต่วันรับคำสั่ง และเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าว ภายใน 30 วันนับ นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับหนังสืออุทธรณ์แล้วจะพิจารณาและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 60 วัน และจะแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้อุทธรณ์และเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลได้มีคำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาแล้วเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติตามนั้น
สำหรับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มาตรา 50 (2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติไว้ว่า ในเขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล เขตเมืองพัทยา หรือเขตราชาการส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วย

1. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
2. อัยการจังหวัด เป็นกรรมการ
3. กรรมการอื่นอีกไม่เกิน 7 คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งในจำนวนนี้ให้มีกรรมการจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่า 2 คน
โดยคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการในคณะกรรมการ ฯ คนใดคนหนึ่งให้เป็นเลขานุการ
กรรมการแลเลขานุการของคณะกรรมการฯ ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
2.8 บทกำหนดโทษ
ผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร จะต้องมีโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ถึง มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แล้วแต่กรณี ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ใดฝ่าฝืนโดยกระทำการก่อสร้างหรือใช้อาคารหรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและหากอาคารที่ฝ่าฝืนนั้นเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข ฯลฯ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า เป็นต้น สำหรับระวางโทษได้กำหนดรายละเอียดไว้ในมาตราที่กล่าวมาแล้ว
2.9 กรอบการใช้บังคับกฎหมาย
กฎหมายควบคุมอาคารได้บัญญัติให้การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
1) การขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 21 (สำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ) และตามมาตรา 22 (สำหรับการรื้อถอนอาคาร) ในกรณีนี้ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาเพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะตรวจพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 45 วัน แต่หากมีกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งผลการพิจารณาได้ ก็สามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 คราว ๆ ละ 45 วัน
เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับใบอนุญาตแล้ว จะต้องแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานกับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมทั้งแนบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน
2) การแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ ในกรณีนี้ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นคำร้องพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาอื่น ๆ โดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
o    สถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบต้องเป็นวุฒิสถาปนิก และวุฒิวิศวกร
o    มีสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบประกอบวิชาชีพเป็นผู้ควบคุมงาน
o    สำเนาใบอนุญาตและรายการคำนวณที่สถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบลงนามรับรอง
o    วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการ
- เอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาโฉนดที่ดินหนังสือการยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตก่อสร้างในที่ดินที่มิใช่ของตนเอง) ฯลฯ
เมื่อผู้แจ้งส่งเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วนและถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบรับแจ้งให้ และผู้แจ้งสามารถดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารได้

การใช้และเปลี่ยนการใช้อาคาร
มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527 ) ได้กำหนดประเภทอาคารที่เป็นอาคารควบคุมใช้ได้ แก่
1) อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด หรือ สาถาพยาบาล
2) อาคารสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข หรือกิจการอื่น ดังต่อไปนี้
(ก) อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการการค้าหรือธุรกิจที่มีพื้นที่สำหรับประกอบกิจการตั้งแต่ 80 ตารางเมตร ขึ้นไป
(ข) อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรในการผลิตมีกำลังรวมกันหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป
(ค) อาคารที่ใช้เป็นสถานที่เพื่อประโยชน์ในการให้การศึกษาที่มีพื้นที่สำหรับประกอบกิจการตั้งแต่แปดสิบตารางเมตรขึ้นไป
(ง) อาคารที่ใช้เป็นชุมชนหรือประชุมที่มีพื้นที่ที่ตั้งแต่สามร้อยเมตรขึ้นไป
( จ) อาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการที่มีพื้นที่ตั้งแต่สามร้อยเมตรขึ้นไป
เมื่อได้ทำการก่อสร้างดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารควบคุมการใช้ที่กล่าวมานี้เรียบร้อยแล้ จะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนที่จะเปิดใช้อาคารเพื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทำการตรวจสอบอาคารนั้นว่า ได้ทำการก่อสร้าง ฯลฯ ไว้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต แล้วจึงออกใบรับรองการก่อสร้าง ฯลฯ อาคารเจ้าของอาคารจึงจะสามารถเข้าไปใช้อาคาร ได้
3. กฎกระทรวง
กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องนำไปปฏิบัติ ปัจจุบันได้มีการออกกฏกระทรวงตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำนวน 51 ฉบับ และกฎกระทรวงตามความในพระราชบัญญัติควยคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่จำนวน 3 ฉบับ โดยครอบคลุมเนื้อหาที่พอแบ่งได้เป็น 3 หมวด โดยสรุปคือ
1. กฎกระทรวงกำหนดในเรื่องขั้นตอน รายละเอียดต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การขอรับใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมในการตรวจพิจารณาอนุญาต แบบฟอร์มหนังสือ คำสั่ง ใบอนุญาต ฯลฯ ที่ใช้ปฏิบัติ
2. กฎกระทรวงกำหนดในเรื่องวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของวัสดุที่ใช้ ลักษณะ รูปทรง และแนวของอาคาร เป็นต้น
3. กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่ต่าง ๆ เช่นกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2530 ) ฯ กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ โดยรอบพุทธมณฑล เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดของเรื่องที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ ได้แสดงไว้ตามตารางดังต่อไปนี้
กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
กฎกระทรวง ฉบับที่ …(พ.ศ.)    เรื่อง    หมายเหตุ
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2524) ฯ    กำหนดความรู้หรือคุณวุฒิของข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่นที่จะแต่งตั้งเป็นนายตรวจหรือนายช่างได้    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2524) ฯ    กำหนดแบบบัตรประจำตัวนายช่าง และบัตรประจำตัวนายตรวจ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2526) ฯ    ว่าด้วยการยืดเก็บรักษา หรือขายซึ่งวัสดุก่อสร้างและสิ่งของ กรณีที่มีการก่อสร้าง ฯลฯอาคารฝ่าฝืน กฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งและเข้าไปดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้น    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ฯ    ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2530) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527) ฯ    ว่าด้วยประเภทควบคุมการใช้สำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์ การศึกษา การสาธารณสุข ฯ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ฯ    ว่าด้วยการรับน้ำหนัก ความด้านทาน ความคงทนของวัสดุที่ใช้และพื้นดินที่รองรับอาคาร    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การตรวจแบบแปลน การยกเว้นค่าธรรมเนียม    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยแบบคำขอใบอนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง แบบคำสั่ง และแบบหนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่น    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยการขอรับในอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน และเคลื่อนย้ายอาคาร    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2529ฯ )
กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน และเคลื่อนย้ายอาคาร    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกระทำที่ไม่เข้าข่ายเป็นการดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2528) ฯ    ว่าด้วยเกณฑ์การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณ และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2528) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภทในท้องที่บางแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา    ถูกยกเลิกด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2524 ฯ)
กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2529) ฯ    แก้ไข้เพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2528 )ฯ กำหนดให้อาคารทางราชการทหารหรือตำรวจได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับอนุญาต ในกรณีมีเหตุผลพิเศษ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2529) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2530) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2530) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ในท้องที่บางแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ    ถูกยกเลิกด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2535) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2530) ฯ    ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ฯลฯ อาคาร ในกรณีที่มีการติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2531) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณเกาะยอ จังหวัดสงขลา    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2532) ฯ    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารที่มีการติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2532) ฯ    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารที่การติดตั้งลูกกรงเหล็กดัด    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2533) ฯ    กำหนดลักษณะของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดหรือตั้งไว้ใกล้ที่สาธารณะให้เป็นอาคาร    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2533) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯ ลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ริมถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2533) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯ ลฯ อาคารบางชนิดบางประเภทริมถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2534) ฯ    ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2528)ฯและกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณพระราชวังบางปะอินและศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นใหม่    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ริมถนนมาลัยแมนและถนนนางแว่นแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ริมแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดผ่อนผันอาคารที่อยู่อาศัย ยื่นเฉพาะแผนผังและแปลน    ถูกยกเลิกด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2538 )ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดประเภท ริมชายทะเลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณอ้าวคุ้งกระเบนและอ่าวทุ่งเจ้าเสด็จ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2534) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ชุมชนเมืองใหม่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ฯ    ว่าด้วยอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 42(พ.ศ. 2537) ฯ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ.2540)
กฎกระทรวง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2535) ฯ    กำหนดบริเวณบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณ ร.ร.นายร้อย จปร. เขาชะโงก จังหวัดนครนายก    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2535) ฯ    กำหนดบริเวณบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ริมทะเลเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2535) ฯ    กำหนดบริเวณบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ ในพื้นที่บางส่วน ริมทะเลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2535) ฯ    ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2530) และกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการขึ้นใหม่    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2536) ฯ    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ฯลฯ ในการแก้ไขอาคารตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522    ถูกยกเลิกด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ฯ    กำหนดเรื่อง ระบบการป้องกันอัคคีภัย ระบบสุขาภิบาล ระบบการจัดแสงสว่าง และการระบายอากาศ สำหรับอาคารทั่วไป    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 40( พ.ศ. 2537) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณวัดญาณสังวราราม ฯ และเขาชีจรรย์ อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537) ฯ    แก้ไขขนาดของที่จอดรถยนต์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และกำหนดเรื่องที่จอดรถยนต์ที่เป็นระบบเครื่องกล    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2537) ฯ    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระรทวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ฯ กำหนดให้อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารเพื่อใช้จอดรถโดยระบบเครื่องมือกล ไม่ต้องบังคับตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ฯ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ฯ    แก้ไขกฎกระรทวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2534) ฯเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และพระราชวังบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ฯ    กำหนดคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2538) ฯ    ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2534) ฯ และกำหนดการผ่อนผันเกี่ยวกับการยื่นเอกสารในการขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ฯลฯ อาคารในเขตสุขาภิบาลและในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขึ้นใหม่    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 46(พ.ศ. 2540) ฯ    กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณสะพานนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี - ปทุมธานี    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 47(พ.ศ. 2540) ฯ    ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2535 ) ฯ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับปรุงแก้ไขอาคารที่อาจก่อให้เกิดภยันตราย ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ขึ้นใหม่    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 48(พ.ศ. 2540) ฯ    เพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ฯ เรื่องการกำหนดอัตราการทนไฟของวัสดุ และการสะท้อนแสงของกระจก    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 49(พ.ศ. 2540) ฯ    กำหนดการออกแบบอาคารให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ในเขตจังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันตก รวม 10 จังหวัด    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 50(พ.ศ. 2540) ฯ    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535 ) ฯ เรื่อง อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2541) ฯ    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ฯ เรื่อง กำหนดคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร    
กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479
กฎกระทรวง ฉบับที่ …(พ.ศ.)    เรื่อง    หมายเหตุ
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2498) ฯ    กำหนดลักษณะ แบบ รูปทรง ฯลฯ ของอาคาร ระดับ ที่ว่างภายนอกอาคาร แนวอาคาร ระยะระหว่างอาคารกับอาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่น ฯลฯ    แก้ไขเพิ่มเติมด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2512) ฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2512) ฯ    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (พ.ศ. 2498) ฯ    
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ฯ    กำหนดทางเข้าออก จำนวน และขนาดที่จอดรถยนต์ของอาคารบางชนิดบางประเภท    ขนาดที่จอดรถยนต์ได้แก้ไขโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537) ฯ ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร
4.1 แบบฟอร์มเอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
แบบฟอร์มเอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร มี 4 ประเภท คือ
1.    แบบคำขออนุญาตหรือใบรับรอง หรือ แบบ อ. (อ. 1 - อ.6)
2.    แบบใบอนุญาตหรือใบรับรอง หรือ แบบ อ. (อ.1 - อ. 6)
3.    แบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ แบบ ค. (ค.1 - ค. 28 )
4.    แบบหนังสือของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ แบบ น. (น.1 - น.11 )
ซึ่งในการใช้แบบฟอร์มแต่ละแบบฟอร์มเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณาใช้ให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี เช่น
o    คำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ใช้แบบ ข.1
o    คำขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข. 6
o    แบบใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ใช้แบบ อ. 1
o    แบบใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารใช้แบบ อ. 6
o    คำสั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ใช้แบบ ค. 1
o    หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตามมาตรา 29 ใช้แบบ น. 4 ฯลฯ
สำหรับรายละเอียดของแบบฟอร์มต่าง ๆ ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528) ฯ
4.2 เอกสารการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร
1.    ในการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร กรณีขอรับในอนุญาตผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นเอกสารต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้แก่
1.    คำขอรับในอนุญาต ตามแบบฟอร์ม ข. 1
2.    แผนผังบริเวณ แบบแปลน (วิศวะและสถาปัตย์) ที่วิศวกรและสถาปนิกผู้ออกแบบลงนามรับรองทุกแผ่น รวม 5 ชุด
3.    รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร และวิศวกรผู้คำนวณออกแบบลงนามรับรองทุกแผ่น
4.    รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรณีที่อาคารที่ขออนุญาตเข้าข่ายประเภทอาคารตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่จะต้องทำรายงการผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ดูรายละเอียดประเภทอาคารในภาคผนวก ข. )
5.    รายการคำนวณการใช้พลังงาน ตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน กรณีที่เป็นอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
6.    สำเนาใบ ก.ว. และ ก.ส. ของผู้ออกแบบและคำนวณอาคาร
7.    สำเนาโฉนดที่ดิน/ น.ส.3 /ส.ค.1
8.    หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน กรณีที่เป็นการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่น
9.    หนังสือแสดงความยินยอมให้ก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดินผู้อื่นหรือใช้ผนังร่วมกันกรณีที่ผนังอาคารอยู่ใกล้ที่ดินผู้อื่นน้อยกว่า 50 เซนติเมตร
10.    หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ตัวแทนเจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต
11.    สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาตทีอออกให้ไม่เกิน 6 เดือน กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต
สำหรับในการแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ เอกสารที่ใช้ประกอบในการแจ้งเหมือนกับเอกสารที่ใช้ในการขอรับใบอนุญาตที่กล่าวมาแล้ว ยกเว้นคำขอตามแบบ ข. 1 ที่จะใช้ใบแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
4.3 การพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องพิจารณา ดังนี้
1.    เอกสารตาม 1 - 11 ถูกต้อง ครบถ้วน
2.    การออกแบบอาคารในด้านสถาปัตยกรรม เช่น แนวของอาคาร ระยะถอยร่น ขนาดของพื้นที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุม ความสูงในแต่ละชั้นของอาคาร ฯลฯ ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.    ข้อกำหนดในเรื่องกำลังของวัสดุ น้ำหนักบรรทุกจร ที่ใช้ในการคำนวณถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ฯ
4.    ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบการระบายน้ำ ระบบถ่ายเทอากาศ ระบบสุขาภิบาลและระบบอื่น ๆ ภายในอาคารได้จัดไว้ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
5.    ข้อกำหนดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น (ถ้ามี)
นอกจากนี้จะต้องพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.    กฎหมายผังเมืองรวม โดยพิจารณาว่าชนิดหรือประเภทของอาคารที่ยื่นอนุญาตอยู่ในพื้นที่ที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทใด สามารถอนุญาตให้ก่อสร้าง ฯลฯ ได้หรือไม่ - ติดต่อผังเมือง
2.    กฎหมายสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่เป็นอาคารที่เข้าข่ายต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องแสดงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ดูรายละเอียดประเภทอาคารในภาคผนวก ข. ) ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาเฉพาะเอกสารรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่า ได้มีการพิจารณาอนุมัติจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมแล้ว
3.    กฎหมายอนุรักษ์พลังงาน ให้ตรวจสอบว่าได้มีการออกแบบอาคารให้ค่าถ่ายเทความร้อนรวมของหลังอาคาร (RTTV) ไม่เกิน 25 วัตต์ต่อตารางเมตรของหลังคา ค่าถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (OTTV) ไม่เกิน 45 วัตต์ต่อตารางเมตรของผนังด้านนอก การใช้ไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคารและค่าพลังงานไฟฟ้าต่อตันความเย็นของระบบปรับอากาศ ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดไว้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาคผนวก ค.) ซึ่งในการตรวจสอบนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องตรวจรายละเอียดในการคำนวณเพียงแต่ตรวจสอบผลการคำนวณออกแบบให้ได้ค่าที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด
สำหรับการยื่นขออนุญาตโดยวิธีการแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ว่าถูกต้องและครบถ้วน จึงออกใบรับแจ้ง
4.4 ระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
กรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาภายใน 45 วัน หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งผลการพิจารณาได้ ก็สามารถขยายเวลาออกไปได้อีก 2 คราว ๆ ละ 45 วัน
กรณีที่เป็นการแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบรับแจ้งให้แล้วต้องตรวจพิจารณา แบบแปลนแผนผัง และเอกสารอื่น ๆ ภายใน 120 วันหากพบว่าไม่ถูกต้อง ให้แจ้งผู้ขออนุญาตให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง


ข้อมูล:หนังสือ การอบรมหลักสูตร หัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันพัฒนาช่างโยธามหาดไทย (กฎหมายควบคุมอาคาร) พ.ศ.2542